
เริ่มจากน้ำหนักของโลก จากกฎของ นิวตันบอกเราว่า แรงดึงดูดระหว่าง วัตถุ 2
อันเป็นสัดส่วนตรงกับผลคูณ องมวลทั้งสองที่หาร ด้วยระยะทาง จากจุดศูนย์กลางของมวลทั้งสองยกกำลังสอง (a = มวลของวัตถุอันที่ 1 b = มวลของวัตถุอันที่ 2 c = ระยะทางระหว่างมวลทั้งสองเริ่มจากจุดศูนย์กลางของมวลทั้งสอง แรงดึงดูดระหว่างวัตถุ 2 อัน = (a*b)/c2))
จากการที่เรารู้รัศมีของโลก เราสามารถ ใช้กฎของนิวตันในการคำนวณหามวล ของโลกได้ในรูปของแรงโน้มถ่วงที่มีผลต่อ
วัตถุที่อยู่บน พื้นผิวโลก (น้ำหนัก) ใช้รัศมี ของโลกเป็นระยะทาง และค่าคงที่จากกฎ คือค่า G ซึ่งได้จากการทดลองของ Henry Cavendish ซึ่งเป็นค่าของ แรงดึงดูดที่เล็กที่สุด 6.67 x 10-11 ระหว่างวัตถุหนัก 1 กิโลกรัมที่อยู่ห่างกัน 1 เมตร เมื่อทราบมวลและรัศมีของโลก รวมถึงระยะทางระหว่างโลกกับ
ดวงอาทิตย์แล้ว ก็สามารถคำนวณหา มวลของดวงอาทิตย์ได้ แรงดึงดูด ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์สามารถคำนวณได้จากค่า G คูณกับมวลของโลก และมวลของดวงอาทิตย์ และหารด้วย ระยะทางระหว่างโลกกับ ดวงอาทิตย์ ยกกำลังสอง ค่าของแรงดึงดูดจะต้องมีค่า เท่ากับแรงเข้าสู่ศูนย์กลางที่ทำให้โลก
โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ แรงสู่ศูนย์กลาง มีค่าเท่ากับมวลของโลกคูณกับความเร็ว ของโลกแล้วหารด้วยระยะทางจากโลก ถึงดวงอาทิตย์ยกกำลังสอง
จากการพิจารณาจากดวงดาวสามารถทราบ ระยะทางจากโลกไปยังดวงอาทิตย์และมวลของดวงอาทิตย์
เมื่อเราทราบมวลของดวงอาทิตย์แล้ว ก็สามารถหามวลของของดาวเคราะห์ ดวงอื่นได้จากรัศมีของวงโคจรของ ดาวเคราะห์และเวลา ที่ใช้ในการโคจร คำนวณแรงสู่ศูนย์กลาง และเปรียบเทียบ แรงที่คำนวณได้นี้กับแรงที่คำนวณได้ จากกฎของนิวตันโดยใช้มวลของดวงอาทิตย์ น้ำหนัก (หรือมวล)ของดาวเคราะห์ สามารถหาได้จากแรงดึงดูดที่มีผลต่อวัตถุ กฎของนิวตันกล่าวว่าวัตถุทุกอย่างใน จักรวาลจะดึงดูดซึ่งกัน และกันด้วย แรงดึงดูด ที่เป็นสัดส่วนกับน้ำหนักของมัน แต่วัตถุ ที่เราพบเจอกันในชีวิตประจำวันนั้น มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาด ของดาวเคราะห์ จึงแทบจะไม่สามารถ สังเกตเห็นแรงดึงดูดนั้นได้ แต่เมื่อ พิจารณาแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ จึงเห็นว่ามีแรงที่มากกว่าวัตถุบนโลก อย่างเห็นได้ชัด
ในการใช้แรงดึงดูดในการหามวลของ ดาวเคราะห์ เราจะต้องวัดแรงที่ใช้ในการดึงวัตถุของดาวเคราะห์นั้น ยกตัวอย่างเช่น ดวงจันทร์ (ซึ่งเป็นบริวารของดาวเคราะห์ ที่ดาวนั้นจะต้องดึงดูดดวงจันทร์ให้อยู่ในวงโคจร) ก็สามารถใช้กฎของนิวตันในการหาค่ามวล ของดาวเคราะห์ได้
แต่สำหรับดาวเคราะห์ที่ไม่มีดาวบริวาร (ดวงจันทร์) อย่างดาวอังคารและดาวศุกร์ที่ ไม่มีดวงจันทร์ แต่มันก็มีแรงดึงดูดระหว่างกัน อีกทั้งพยายาม ที่จะดึงดาวเคราะห์ดวงอื่น ที่อยู่ในระบบสุริยจักรวาลด้วย ด้วยเหตุนี้ ทำให้ดาวเคราะห์ต่างๆมีเส้นทางของ วงโคจรเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ นักคณิตศาสตร์ สามารถคำนวณหามวลของดาวเคราะห์ ที่ไม่มีดวงจันทร์ได้ แล้วเราสามารถคำนวณหามวลของ ดาวเคราะห์น้อยได้หรือไม่ เนื่องจาก
มวลของมันมีค่าน้อยมากจนไม่มีผลต่อ วงโคจรของดาวเคราะห์ อื่นๆ เมื่อไม่นานมานี้มวลของดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ สามารถหาได้ง่ายมาก โดยประมาณ ได้จาก เส้นผ่านศูนย์กลางที่ปรากฎ และส่วนประกอบ ทางกายภาพ
อย่างไรก็ตาม วัตถุที่ได้จากอวกาศก็สามารถ นำกลับมาทดสอบได้บนโลกโดยอาศัยยานอวกาศ เช่นวัตถุที่ได้จากดวงจันทร์ซึ่งสามารถทดสอบได้โดย การวัดคลื่นวิทยุแบบ Doppler จากพื้นโลก ซึ่งผลที่ได้นั้นปรากฎว่ามวลที่วัดได้เบากว่า และโครงสร้างที่ไม่ตรงกับ ที่คาดหวังไว้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ท้าทายให้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าต่อไป