การทำเหมืองแร่ เป็นการทำอุตสาหกรรมที่ทำลายระบบนิเวศวิทยาสิ่งมีชีวิตอาจสูญพันธุ์หรือลดจำนวนลง
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่นน้ำในลำธารมีสีแดงขุ่น
หรืออาจมีสีเหลือง ผิดธรรมชาติ ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่สามารถใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคได้ หรือความรู้สึกที่สัตว์น้ำไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำเหล่านั้นได้
3. อุทกภัย
อุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความรู้สึกหดหู่ใจในภาพที่ได้เห็น
ความเดือดร้อนของผู้คนที่ประสบภัย
ที่ถูกน้ำท่วมบ้าน ต้องอาศัยบนหลังคา
ไม่มีอาหารกิน ภาพของเรือกสวนไร่นาที่ถูกน้ำท่วม ต้นไม้ที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงแต่ยอด
ล้วนแล้วแต่เป็นภาพที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจต่อผู้พบเห็น
4. ความแห้งแล้ง
ภาพของดินที่แห้งแตกระแหง ต้นไม้ที่ไม่มีความเขียวสดงดงาม
เปลวแดดที่ร้อนระอุ ผู้คนอดอยาก จากภัยความแห้งแล้งเป็นภาพที่ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกหดหู่
ไม่รื่นรมย์ ไม่อยากจะพบเห็น
5. น้ำเน่า
สภาพของน้ำที่เน่าเสีย มีสิ่งปฏิกูลลอยสกปรกและส่งกลิ่นเหม็น ในลำคลองหรือแม่น้ำ
ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดูกับผู้พบเห็นโดยทั่วไป


6. สลัมในเมือง
สลัมในเมืองใหญ่เป็นภาพที่ไม่มีความเป็นระเบียบ
ภาพบ้านที่ใหญ่บ้างเล็กบ้าง มีฝาบ้านบ้างไม่มีบ้าง
สภาพลำคลองมีขยะ น้ำเน่า มีกลิ่นเน่าเหม็น นอกจากนี้ยังมีภาพของความยากจนของผู้คนที่อาศัยในสลัม
เช่น เด็กไม่มีเสื้อผ้าจะสวมใส่
สกปรกมอมแมม มีลักษณะอมโรค ทั้งหลายเหล่านี้เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่น่าดู
7. การขาดพืชสีเขียวในเมือง
ในการดำเนินชีวิตในเมืองใหญ่ การจราจรที่ติดขัด
ความเร่งรีบในการดำเนินชีวิต ก่อให้เกิดความรู้สึกตึงเครียดในอารมณ์ แต่ถ้ามีต้นไม้สีเขียวในเมือง
หรือในท้องถนน จะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายขึ้น ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกรุนแรง
หงุดหงิด จิตใจเบิกบานแจ่มใส และไม่ร้อนเกินไปเหมือนที่โล่งแจ้ง
8. ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณาที่พบเห็นตามท้องถนนที่ติดระเกะระกะในเมือง
และตามถนนหลวงทั่ว ๆ ไป นอกจากจะมีสีแปลก
ๆ การจัดเรียงที่ไม่มีระเบียบแล้ว ยังมีภาพบางอย่างที่ทำให้เป็นพิษเป็นภัยได้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะพบมากบริเณเมืองใหญ่และที่ใกล้
ๆ เมืองทั่ว ๆ ไป ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีนักต่อผู้พบเห็น
9. เพลิงไหม้
อัคคีภัยหรือเพลิงไหม้เป็นภาพที่พบเห็นเมื่อไรย่อมก่อให้เกิดความรู้สึกที่สลดหดหู่
ความรู้หวาดกลัวไม่อยากให้เกิด ภาพที่ผู้คนวิ่งหนีภัย
ภาพการขนทรัพย์สินเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกเพลิงไหม้ หรือภาพที่มีผู้ประสบภัยจากเพลิงไหม้
ย่อมทำให้เกิดความหดหู่ ไม่สบายใจเมื่อได้พบเจอ
10. การขาดระบบในการก่อสร้างอาคาร
การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนนั้น ถ้าขาดระบบในการจัดการแล้ว
ทำให้เกิดทัศนียภาพที่สร้างความสะพรึงกลัว
หรือความไม่สบอารมณ์ของผู้พบเห็นได้
บางแห่งมีตึกสูงบางแห่งมีตึกต่ำ หรือมิฉะนั้นมีความระเกะระกะของตึกอาคารเหล่านั้น
ทำให้ภาพไม่น่าดูน่าชม
11. การต่อสู้และสงคราม
ทัศนียภาพของการต่อสู้และสงคราม
เป็นสิ่งที่พบเห็นสามารถพยากรณ์ได้ว่าจะต้องมีการฆ่ากันให้ล้มตาย
มีการทำลายล้างบ้านเมือง เป็นภาพที่ไม่มีใครอยากพบเห็น
เพราะทำให้เกิดความหดหู่ทางด้านจิตใจมาก
12. ขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยเป็นสิ่งปฏิกูลที่เหลือใช้หรือของที่ไม่ใช้แล้ว
จึงเป็นธรรมดาที่ทุกคนไม่อยากดูไม่อยากชม
การที่ได้พบเห็นกองขยะใหญ่โตท่วมทุ่ง
ส่งกลิ่นเหม็น มีความไม่เป็นระเบียบอยู่ในตัวมันเอง
จะทำให้จิตใจหดหู่ ไม่สบอารมณ์ จึงพยายามหนีให้ไกล
13. อุบัติเหตุ
อุบัติเหตุทุกประเภท ไม่เป็นที่พึงปรารถนาของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม
เพราะเป็นภาพที่พบเห็นแล้วทำให้เกิดอารมณ์หดหู่
เร้าอารมณ์เศร้า และติดตาในเหตุการณ์
เช่นภาพรถไฟชนกัน ระเบิดรถไฟ รถยนต์คว่ำ
คนถูกรถชนกลางถนน
14. หมอก-ควัน
หมอกควันเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งทำให้ไม่สามารถ
จะดูสิ่งต่าง ๆ ด้วยสายตาในระยะไกลได้
บางครั้งอาจทำให้สายตาได้รับอันตราย
ที่ปรากฏเห็นชัดเจนก็คือ บริเวณบางจังหวัดในภาคเหนือ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชียงใหม่ซึ่งหมอกควันมากในฤดูร้อน
เพราะมีการเผาป่าทำไร่ จึงทำให้สายตาดูได้ในระยะใกล้
ๆ เท่านั้น
ที่มา
: รวบรวมจาก ดร.เกษม จันทร์แก้ว หนังสือวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม