มนุษย์กับการ "บริโภค" ตะกั่ว

        ตะกั่วเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่มีสีเงินแกมฟ้า ปกติเรามักจะพบตะกั่วปนอยู่กับกำมะถันและเราสามารถแยกโลหะผสมนี้จากกันได้โดยการเผาให้ร้อนจัด แล้วพ่นอากาศเข้าไป ออกซิเจนในอากาศจะทำปฏิกิริยาเคมีกับตะกั่วและกำมะถัน เกิดเป็นตะกั่วออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตามลำดับ ซึ่งก๊าซนี้จะถูกนำไปใช้ในการผลิตกรดกำมะถัน เกิดเป็นตะกั่วออกไซด์ที่ได้ หากเราใช้ถ่านหินร้อนดูดซับออกซิเจนไป เราก็จะได้ตะกั่วบริสุทธิ์

        ทุกวันนี้เราใช้ตะกั่วหลายรูปแบบ เช่นใช้ห่อหุ้มลวด ใช้พันสายเคเบิลใต้ทะเลเพื่อป้องกันความชื้นจากน้ำ แม่บ้านในอดีตเคยใช้ตะกั่วที่ถูกรีดจนเป็นแผ่นบางห่อหุ้มอาหาร นักวิทยาศาสตร์ใช้แผ่นตะกั่วป้องกันอันตรายจากกัมมันตรังสี แบตเตอรี่รถยนต์ก็ใช้ตะกั่วในการทำงาน วิศวกรยังได้พบอีกว่า ตะกั่วที่มีโลหะอื่นผสมนั้น มีประโยชน์ยิ่งกว่าตะกั่วบริสุทธิ์หลายเท่า สีที่เราทาบ้าน ทาเรือ ทาสะพานเพื่อป้องกันสนิมจะมีตะกั่วผสมอยู้เสมอ สารประกอบของตะกั่วกับ arsenic สามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลง บล็อกตัวพิมพ์มักจะทำด้วยตะกั่วดีบุก เพราะถ้าใช้ตะกั่วบริสุทธิ์ในการทำ เวลาอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบล็อกจะยืดหรือหดขนาดจนตัวอักษรเสียรูปทรง แต่โลหะที่ทำจากของผสมระหว่างตะกั่วและดีบุกจะขยายตัวหรือหดตัวน้อยมาก ดังนั้นขนาดของตัวพิมพ์ของช่องว่างระหว่างตัวอักษรจะคงทนถาวรไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่ว่าอากาศจะร้อนจะเย็นลงเพียงใด

มนุษย์เราเริ่มรู้จักตะกั่ว ตั้งแต่สมัยใด

        ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า เราเคยมียุคทองแดง ยุคเหล็ก และยุคทองสัมฤทธิ์ แต่เราไม่มียุคตะกั่ว ถึงแม้เราจะรู้จักใช้โลหะชนิดนี้มานานแสนนานแล้วก็ตาม นักประวัติศาสตร์ได้พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนนี้ ชาวกรีกโบราณได้รู้จักถลุงตะกั่วแล้ว เหมืองตะกั่วที่พบในบริเวณแหลม lberia มีการขุดตะกั่วและเงินเป็นล่ำเป็นสัน ถึงขนาดที่ทำให้โปรตุเกตุและสเปนในยุคนั้นเจริญมั่งคั่งมากกษัตริย์เปอร์เซียโบราณทรงโปรดปรานการเก็บสะสมตะกั่วและเงินในราชสำนักมาก พ่อค้าในตะวันออกกลาง รู้จักถลุงตะกั่วจากแร่ผสมเพื่อนำมาทำเป็นเหรียญแลกเปลี่ยน การรู้จักใช้เงินเป็นวัสดุแลกเปลี่ยน เมื่อ 2570 ปีก่อนเป็นสาเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้คนขุดตะกั่วเพิ่มมากขึ้น เพราะได้มีการพบว่าตะกั่วกับเงินมักจะเกิดในบริเวณใกล้ๆ กัน

       ดังนั้นในยุคโรมันรุ่งเรือง การขุดหาตะกั่วตามเหมืองในบริเวณริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จึงกระทำกันแพร่หลาย เหมืองเหล่านี้ผลิตตะกั่วได้ปีละถึง 50,000 ตัน สถิติการผลิตตะกั่วที่ระดับนี้ได้ยืนนานมาจนถึงปี พ.ศ. 2370 เมื่อยุโรปก้าวเข้ามาสู่ยุคอุตสาหกรรม ความต้องการของโลกในการบริโภคตะกั่วได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เหมืองตะกั่วในอังกฤษและเยอรมนีจึงได้มีการดำเนินการขุดมากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

        นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนว่าตั้งแต่โลกรู้จักตะกั่ว จนถึงปี ค.ศ. 1000 บรรพบุรุษของเขาได้ขุดตะกั่วขึ้นมาใช้เป็นน้ำหนักรวมทั้งสิ้นถึง 32 ล้านตันแล้ว ตัวเลขการผลิตนี้นักวิทยาศาสตร์ได้จากการใช้หลักการที่ว่า เวลาเราถลุงตะกั่วไอตะกั่วจะถูกแพร่กระจายไปในบรรยากาศ ไอนี้จะถูกต้นไม้ดูกซับและถูกไอน้ำดูดกลืนเก็บเข้าไว้ในลำต้นตลอดเวลา เมื่อต้นไม้นั้นล้มตาย ปริมาณตะกั่วที่มันซึมซับไปแล้วจะยังคงสะสมอยู่ในตัวของมัน ดังนั้น เวลาต้นไม้กลายสภาพเป็นแร่ peat การวิเคราะห์แร่ จะทำให้รารู้ประวัติความเป็นมาของต้นไม้ขณะที่มันยังมีชีวิตอยู่

        ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2541 นี้ W. Shoky แห่ง Geological  Institute ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เขาได้พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่โลกรู้จักตะกั่วโลกได้ผลิตตะกั่วออกมาทั้งสิ้น 260 ล้านตัน และ 85 % ของตะกั่วที่ผลิตได้นี้ ถูกขุดขึ้นมาใช้ในช่วงเวลา 200 ปี ที่ผ่านมานี้เอง

        Shotky  ได้กล่าวว่า ช่วงเวลาที่มนุษย์ได้ปลดปล่อยตะกั่วซึ่งเป็นพิษออกสู่บรรยากาศนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่วงคือ

        เพราะมีรายงานการวิจัยมากมายที่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ร่างกายใครที่ได้รับตะกั่วเข้าไปมากเกินสมองของเขาคนนั้นจะทำงานบกพร่อง สติปัญญาจะเสื่อมถอยและถ้าเป็นกรณีของเด็ก เขาก็จะเรียนหนังสือได้ไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กคนนั้นได้รับตะกั่วเข้าร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กจะเติบโตไม่เต็มที่ ระบบการได้ยินจะทำงานบกพร่อง แพทย์จึงมีความเห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่เลือด 1 เดซิลิตร มีตะกั่วเกิน 0.00001 กรัม ร่างกายของเขาจะเป็นอันตราย

        ณ วันนี้  นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัดว่าเพราะเหตุใดตะกั่วจึงพิษตะกั่วร่างกาย แต่ถึงไม่รู้คำตอบแน่นอน ทุกประเทศก็ได้วางมาตการควบคุมการใช้ตะกั่วแล้ว จากเดิมที่ได้กำหนดว่าระดับปริมาณตะกั่วในเลือด ควรไม่เกิน 0.00006 กรัม ในเลือด 1 เดซิลิตร  เมื่อ 30 ปีก่อนนี้  และได้มีการค้นพบว่าตะกั่วทำให้คนปวดท้องรุนแรง เป็นโรคโลหิตจาง  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และตายมากมาย แพทย์จึงได้รณรงค์ให้ลดระดับอันตรายของตะกั่วในร่างกายลงเป็น  0.00001  กรัมต่อเลือด  1 เดซิลิตร  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2534 และก็ได้พบว่าหลังจากที่ได้เตือนภัยตะกั่วให้สังคมตระหนักแล้ว ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ ระดับตะกั่วในเลือดของเด็กอเมริกันได้ลดลงกว่า 90%

        ทั้งนี้ คงเป็นเพราะได้มีการรณรงค์ให้รถยนต์ใช้น้ำมันที่ไร้สารตะกั่ว และลดการใช้สารตะกั่วในบรรดาสีที่ใช้ทาวัสดุต่าง ๆ นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีรายงานการสำรวจที่ระบุอีกว่า ระดับตะกั่วในเลือดของเด็กอเมริกันขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก ฐานะครอบครัว เชื้อชาติและสถานที่อยู่อาศัย เพราะครอบครัวที่ยากจนมากจะอยู่ตามบ้านที่ใช้สีทาบ้านคุณภาพต่ำ เวลาสีลอก เม็ดสีเล็ก ๆ จะติดไปกับฝุ่นละอองในอากาศติดเข้าไปในปอด เวลาเด็กหายใจ เพื่อป้องกันภัยลักษณะนี้ นักวิจัยได้เสนอแนะว่า บ้านทุกหลังที่ทาสีจะต้องผ่านการวิเคราะห์ว่ามีโอกาสทำให้ผู้อยู่อาศัยสัมผัสตะกั่วมากหรือน้อยเพียงใด ก่อนที่เจ้าบ้านจะเข้าอยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น ๆ และกระบวนการตรวจสอบหาปริมาณตะกั่วนี้จะต้องทำกันอย่างสม่ำเสมอ ส่วนจะบ่อยหรือไม่บ่อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับอายุและสภาพของบ้าน และเมื่อใดก็ตามที่มีการพบว่าบ้านนี้มีตะกั่วเพ่นพ่านมากถึงระดับอันตราย ทางการจะต้องมีมาตรการกำจัดพิษนี้ให้หมดก่อน จึงจะอนุญาตให้เจ้าของบ้านอยู่อาศัยอีก

        ในวารสาร Environmental Health Perspectives ฉบับเดือนตุลาคม 2541 S.T. Melman แห่ง St.Charis Care Pediatric Service ที่ Philadelphia ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า เด็กเล็ก 817 คน ในเมืองนี้กว่า 70% มีปริมาณตะกั่วในร่างกายมากเกินกำหนด Melman ได้รายงานว่าเด็กเหล่านี้อาจจะมีร่างกายไม่เจริญเติบโตเต็มที่ มี IQ ต่ำ มีการทรงตัวที่ไม่ดีนัก และพัฒนาการทางร่างกายที่ช้ากว่าปกติ เมื่อเด็ก ๆ ในกลุ่มทดลองนี้มาจากทุกหนทุกแห่งในเมือง และ 70% เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง Melman จึงได้เสนอแนะว่า การตรวจหาปริมาณตะกั่วในเด็กเล็กๆ ควรจะกระทำทั่วไป โดยไม่จำกัดเฉพาะเด็กบางกลุ่มที่คิดว่ามีอัตราเสี่ยงสูงเท่านั้น เพราะถ้าเราสามารถป้องกันเด็กที่โชคร้ายเหล่านี้ มิให้ป่วยเป็นโรคหัวใจหรือโรคทางจิต ที่มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ประชากรของชาติก็จำมีคุณภาพ

        ก่อนนี้ เราเคยสนับสนุนกิจการขุดและผลิตแร่ตะกั่ว เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ เราไม่เคยสนใจสุขภาพของประชากรเลย และธุรกิจตะกั่วได้ทำให้คนในชาติเจ็บพอ ๆ กับบุหรี่

        บัดนี้เราและกำลังควบคุมภัยนี้อยู่


ที่มา : รวบรวมจาก ศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ ยกส้าน , วิทยาศาสตร์น่ารู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี