มังกานิส (Mn)

         เนื่องจากโรงงานผลิตถ่านไฟฉายนำแร่มังกานิส มาบดละเอียดเพื่อทำถ่านไฟฉายจนเป็นผงฝุ่นของมังกานิส ฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศ คนงานหรือผู้ใกล้ชิดหายใจเอาฝุ่นแร่มังกานิสเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายได้  โดยมีอาการเดียวกับระบบประสาท โดยไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางได้แก่สมอง  เริ่มด้วยมีไข้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ไม่สนใจกับสภาพแวดล้อม ไม่ดีใจ เสียใจ พูดจาน้อย ความรู้สึกทางเพศเสื่อม ต่อมาก็เป็นตะคริวบ่อยขึ้น ปวดกล้ามเนื้อบ่อยๆ พูดช้าไม่ชัดเจน เวลาหัวเราะกล้ามเนื้อเกร็งไปทั่วใบหน้า เวลาเดินเริ่มมีอาการกระตุกๆอาการจะรุนแรงมากขึ้น มีการกระตุกมากขึ้น ก้าวขาสั้นๆ เดินหัวซุนไปข้างหน้า หกล้มบ่อย กลืนน้ำลายลำบากและเป็นอัมพาตไปในที่สุด ส่วนที่เกี่ยวกับปอดทำให้ปอดบวม  โดยมีอาการเริ่มต้นด้วย เจ็บคนเป็นไข้ ไอมีเสมหะ แน่นอึดอัดหายใจไม่ออก

        โรคที่เกิดจากฝุ่นละอองมังกานิส  การนำเอาแร่มังกานิส  มาบด ป่นหรือแปรสภาพใดๆ เพื่อใช้ในด้านอุตสาหกรรมนั้นมังกานิส    ส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จะอยู่ในรูปของมังกานิสไดอ๊อกไซด์  (Pyrolustite  MnO2) มังกาไนท์ (Manganite, MnOOH)  ฮัซมาไนท์ (Hansmanite, Mn3C4)  และโรซโดโครไซด์  (Rhodochroiste, Mn3 O4)

ประโยชน์ของมังกานิส

        1. นำเอามาบดเป็นผงทำถ่านไฟฉาย (Dry Cell Battery)
        2. ใช้เป็นตัวทำปฏิกริยา  (Reagent) ในการถลุงโลหะ และใช้เป็นตัวผสมอินกรีดิเอ้นท์ (Ingredient)  ในการทำโลหะผสมพิเศษ  (Special Alloy Steel)
        3. ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องปั้นดินเผา  สารประกอบ เช่น มังกาเนต และเปอร์มังกาเนต (Manganate, Permanganate) ก็ใช้ทำสีย้อมผ้า ฟองหนังทำปุ๋ย และใช้เป็นตัวเร่งปฏิกริยาด้วย
อันตรายของมังกานิส

        เมื่อหายใจเอาฝุ่นละอองของมังกานิสเข้าไป  มังกานิสจะแทรกซึมไปตามระบบการไหลเวียนของโลหิต  ไปสะสมอยู่ในอวัยวะที่มีไมโตคอนเดียร (Mitochondria)  เช่น ในตับ ตับอ่อน ไต และสมอง
อาการ  ส่วนใหญ่จะสะสมในร่างกายทำให้เกิดพิษชนิดเรื้อรัง  (Chronic Manganes poisoning) จะปรากฎอาการหลังจากมังกานิสเข้าไปในร่างกายแล้ว 6 เดือน อาการสำคัญๆ มี คือเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไม่สนใจ ยินดียินร้ายกับสิ่งแวดล้อม  ไม่ดีใจไม่โกรธ อาการปรากฎทางประสาท เช่น อยากหัวเราะหรือร้องไห้ก็จะทำและจะทำเป็นพักๆ ทั้งนี้เพราะการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ตาแข็ง นอนไม่หลับ ปวดศีรษะบ่อยๆ เป็นตะคริวที่ขา หมดสมรรถภาพทางเพศ พูดจาตะกุกตะกัก ขาดเป็นห้วงๆ พูดลำบาก เป็นใบ้ เดินงุ่มง่าม เสียการทรงตัว เดินหน้าถอยหลังลำบาก เดินคล้ายไก่  มังกานิสทำลายประสาท (Canglion Cell) ทำให้ผนังหลอดเลือด หลอดน้ำเหลืองเสื่อมลง  ทั้งนี้เพราะ  มังกานิสจะทำลายศูนย์กลางที่บังคับการยืดหดของเลือด  (Vasomotor Center) ซึ่งอยู่ในสมอง  สำหรับผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ซิฟิลิส มาเลเรีย อาการจะทรุดหนักลงอีก โรคแพ้มังกานิส ปกติไม่ใช่โรคที่ทำให้ถึงตาย  แต่เป็นโรคที่สร้างความพิการของร่างกายอย่างถาวรมาตรฐานของมังกานิส ค่าจำกัดที่ยอมให้มีได้เท่ากับ  5 มิลลิกรัมต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร

ปริมาณฝุ่นที่กำหนดให้มีได้อย่างสูงสุดในโรงงาน

        มาตรฐานของฝุ่นในอากาศของโรงงาน  ซึ่งคนงานปฏิบัติงานวันละ 8 ชั่วโมง กำหนดไว้ 2 แบบ คือ

        1. การนับประมาณของฝุ่น  กำหนดให้ฝุ่นมีความบริสุทธิ์ของหิน ทรายสูงกว่า 50% กำหนดให้ไม่เกิน 5 ล้านอนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุตของอากาศ  ฝุ่นมีความบริสุทธิ์ของหินทรายต่ำกว่า 5% กำหนดให้ไม่เกิน 50 ล้านอนุภาคลูกบาศก์ฟุตของอากาศ

        2. การชั่งน้ำหนักของฝุ่นที่มีหินทราย   กำหนดไว้ดังนี้ สำหรับฝุ่นที่เข้าไปในระบบหายใจ  ได้กำหนดดังนี้
                - 10 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตรของอากาศ % ของหินควอทซ์ ที่หายใจเข้าไปได้ + 2
                - สำหรับฝุ่นรวม  กำหนดได้ 30 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตรของอากาศ % ของหินควอทซ์รวม + 3

        อัตราที่กำหนดในต่างประเทศ   (Rule Regulation จาก Federal Register)
 
        กำหนดไว้สำหรับระยะแรกในอากาศมาตรฐาน  (National Primary Ambient Air Quality Standard)
            -   0.75   ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
            -   0.260 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร  กำหนดให้สูงสุดในระยะ 24 ชั่วโมง ไม่ควรสูงกว่านี้



ที่มา : รวบรวมจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.วิจิตร บุณยะโหตระ ,ชีวิตและสิ่งแวดล้อม