ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสี

ปะการัง (coral) เป็นสัตว์ทะเลพวกหนึ่ง เคลื่อนที่เองไม่ได้ มีโครงร่างเป็นพวกหินปูน ปะการังจึงมองดูคล้ายสัตว์ตัวเล็กๆ หลายสีที่แทรกตัวอยู่ ตามหลืบหินซึ่งเกาะตัวรวม กันเป็นกลุ่มๆ หรือเป็น แนวคล้ายเทือกเขา รูปร่าง ของปะการังมีหลายแบบ เช่น ปะการังสมอง ปะการังเขากวาง ปะการัง ดอกเห็ด เป็นต้น บริเวณแนวปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในท้องทะเล เป็นแหล่งรวม ของพืชและสัตว์หลายชนิด เป็นที่ เพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์ทะเล วัยอ่อน รวมทั้งเป็นแหล่งหลบ ภัยจากศัตรู ท้องทะเลที่มีแนวปะการังที่สวยงามมักได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ

ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสี(coral bleaching) เมื่อไม่นานมานี้ระบบนิเวศแนวปะการังถูกกระทบกระเทือน เนื่องจากปะการังที่เคยมีสีสันสวยงามถูกทำให้มีสีซีดจางลง โดยในครั้งแรกเกิดปรากฏการร์นี้ขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตใน พ.ศ. 2522 ซึ่ง ต่อมาได้ขยายไปอย่าง กว้างขวางใน พ.ศ. 2534 และปรากฏการณ์นี้ ได้แผ่ขยายไปมากขึ้นในปี พ.ศ. 2541 นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นผลกระทบมาจากปรากฏการณ์ เอลนินโญ่ ซึ่งทำให้อุณหภูมิของ โลกและน้ำทะเล สูงขึ้น จนทำให้ปะการัง และสัตว์อื่นในบริเวณ แนวปะการังได้แก่ ดอกไม้ทะเล ถ้วย ทะเลและปะการังอ่อน เปลี่ยนจากสีต่างๆ เป็นสีขาวและค่อยๆ ตายไป จากการสำรวจพบว่าขณะนี้ปะการังในอ่าวไทยเปลี่ยนสีไปแล้วประมา ณ 60 - 80%

ตามปกติในเนื้อเยื่อชั้นใน (endodermes) ของปะการังมีสาหร่ายเซลล์เดียว เรียกว่า ซูซานเทลลี (Zooxanthellae) อาศัยอยู่ สาหร่าย ชนิดนี้จะสังเคราะห์แสงให้พลังงานแก่ปะการัง เป็นการอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพา (Mutualism) ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสีเกิดขึ้นเนื่องจากปะการังและสัตว์ทะเลอื่นๆ ในบริเวณนั้นได้ขับสาหร่ายซูซานเทลลีที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อออกไป จึงทำให้ปะการังและสัตว์ทะเลเหล่านั้นขาดพลังงานในการดำรงชีวิตจึงค่อยๆ ตายไป เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของน้ำทะเลซึ่งเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เอลนินโญ่ ที่ทำให้น้ำทะเลในฝั่งอันดามันเย็นลงแต่ทำให้น้ ำทะเลในอ่าวไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนสีของ ปะการังด้วย เช่น การเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลในช่วงฤดูฝน จึงเป็นที่วิตกกันว่าปรากฏการณ์ลานินญา ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำ ให้มีฝนตกมากกว่าปกติจะเป็นเหตุให้มีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลปริมาณมาก การทับถมของตะกอนลงไปในทะเลก็ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญของปะการัง การใช้ทะเลจนทำให้เกิดมลพิษต่างๆ แสงจากดวงอาทิตย์ และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ล้วนเป็นผลให้ปะการังเกิดการเปลี่ยนสี สิ่งที่น่าตระหนักสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับทะเลก็คือ ควรระ วังอย่าให้ท้องทะเลเกิดมลพิษจากวัสดุและสารเคมีต่าง เพราะน้ำทะเลที่สกปรกมีมลพิษจะทำลายปะการัง และไม่ส่งเสริมการทำลายปะการังจากแหล่งธรรมชาติ โดยการนำไปเป็นของที่ระลึก ควรสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์แหล่งที่มีปะการังไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นแหล่งศึกษาของอนุชนรุ่นหลัง
โดย อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง "รายงานโลกสีเขียว : ปะการังเปลี่ยนสีในอ่าว ไทย - หายนะภัยจาก น้ำมือมนุษย์" โลกสีเขียว 7(4) : 14 - 15, ก.ย. - ต.ค. 2541