คุณรู้จัก "พยาธิตัวจี๊ด" ดีแค่ไหน ?

มีผู้ใหญ่หลายท่านมักห้ามเด็กๆ ไม่ให้รับประทานแหนมดิบๆ โดยบอกกับเด็กว่า "ระวังจะเป็นพยาธิตัวจี๊ด" แต่เมื่อเด็กถามกลับมาว่า "พยาธิตัวจี๊ดมีลักษณะอย่างไร ?" ก็ไม่สามารถอธิบายได้ท่านล่ะ ! บอกได้หรือไม่ว่าลักษณะพยาธิตัวจี๊ดเป็นอย่างไร ทำไมการบริโภคอาหารดิบๆ สุกๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคพยาธิตัวจี๊ด
พยาธิตัวจี๊ด (Gnathostoma spp.) เป็นพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งที่มีรายงานการ ตรวจพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2379 โดยริชาร์ด โอเวน (Richard Owen) นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ พบในก้อนทูม (tumour) บริเวณกระเพาะอาหารของเสือโคร่ง (Felis tigris)ซึ่งตายด้วยสาเหตุเส้นเลือดแดงใหญ่แตก ณ สวนสัตว์กรุงลอนดอน และให้ชื่อพยาธิชนิดนี้ว่า Gnathostoma spinigerum ต่อมามีรายงานเกี่ยวกับพยาธิตัวนี้ในสัตว์ป่าอีกหลายชนิด ตลอดจนในคน มีรายงานว่าพบพยาธิตัวจี๊ดในคนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2432 โดยนายแพทย์ดอนท์เซอร์ (dentzer) ตรวจพบจากบริเวณเต้านมของหญิงไทยและเรียกชื่อพยาธิตัวนี้ว่า Cheiracthus siamensisภายหลังมีรายงานว่าเป็นชนิดเดียวกับ Gnathostoma spinigerum

การศึกษาทางชีววิทยาและอนุกรมวิธาน ได้มีการจัดหมวดหมู่ของพยาธิตัวจี๊ดได้ดังนี้

Phylum Nematheiminthes
   Chass Nematoda
      Order Eunematoda
         Superorder Spiruroidea
            Family Gnathostominae
               Genus Ganthostoma

Genus Gnathostoma มีรายงานไว้ทั้งหมด 19 ชนิด แต่ในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบเพียง 4 ชนิด คือ G.spinigerum, G.hispidum, G.doloresi, G.vietnamicum

ลักษณะพยาธิตัวจี๊ดโดยทั่วไป

ตัวเต็มวัย (adult) ลำตัวจะกลมยาวเรียวจากหัวไปหาง ลำตัวใส่วนหัวแยกจากส่วนลำตัวโดย มีคอคอด หัวค่อนข้างกลม มีริมฝีปาก 1 คู่ มีขอเล็กๆ (hook or hooklets) ล้อมรอบส่วนหัว 8 แถว ภายในมีถุง 4 ถุง (ballonets) แต่ละถุงมีช่องต่อกับลำตัวข้างหลอดอาหาร ปลายถุงต้นลำตัวเป็นผนังหนา (cuticle) มีรอยย่นตลอดลำตัวมีหนามปกคลุม โดยเฉพาะส่วนต้นของลำตัวจะหนาแน่นกว่า ส่วนอื่น ตัวผู้มีขนาดประมาณ 11 - 25 มิลลิเมตร กว้าง 1 - 1.5 มิลลิเมตร ปลายหางจะแผ่กว้างออกมีขอ (spicule) 2 อัน โผล่ให้เห็นที่ช่องขับถ่าย (Cloaca) ตัว เมียมีขนาดยาวประมาณ 25 - 54 มิลลิเมตร กว้าง 1 - 2 มิลลิเมตร จะมีหางเรียวเล็กกว่าตัวผู้ มีช่องเปิดระบบสืบพันธุ์ (vulva) มีรูเปิดช่องคลอด (vagina) 1 ช่อง ต่อจากช่องคลอดเป็นมดลูก (uterus) แยกเป็น 2 ท่อและมีไข่เต็มมดลูก


ภาพประกอบ 1 ตัวเต็มวัยพยาธิตัวจี๊ด

ลักษณะไข่ (egg) หัวท้ายจะมนเกือบเท่ากันมีจุกเมือก (mucoid plug) อยู่ทีปลายข้างหนึ่ง เปลือกไข่บางสีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 42 x 79 ไมครอน


ภาพประกอบ 2 ไข่พยาธิตัวจี๊ด

ลักษณะตัวอ่อนระยะที่หนึ่ง (first stage larva) รูปร่างจะเรียกยาวจากหัวไปท้าย ที่หัวมีหนามสั้นๆ 1 แถว มีปลอกหุ้มรอบ ตัวขนาดประมาณ 15.8 x 265.3 ไมครอน


ภาพประกอบ 3 ระยะที่หนึ่งพยาธิตัวจี๊ด

ตัวอ่อนระยะที่สอง (second stage larva) ตัวอ่อนระยะนี้ ไม่มีปลอกหุ้ม มีริมฝีปาก 1 คู่ ขนาดเท่ากัน บริเวณหัวมีหนาม 4 แถว มีหลอดอาหารและลำไส้ มีรอยย่นของนามที่ลำตัวชัดปลายหางมนมีขนาดประมาณ 61.6 x 372.5 ไมครอน


ภาพประกอบ 4 ระยะที่สองพยาธิตัวจี๊ด

ตัวอ่อนระยะที่สาม (third stage larva) เป็นระยะติดต่อมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย แต่ขนาดเล็กกว่า ลักษณะหนามไม่ชัดเจน ความยาวประมาณ 4.5 - 6.31 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่จะขดตัวอยู่ในซีสต์ (cyst) ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร


ภาพประกอบ 5 ตัวอ่อนระยะที่สามขดตัวอยู่ในซีสต์

วงจรของพยาธิตัวจี๊ด (lifecycle)

ตัวเต็มวัย อาศัยอยู่ที่ก้อนทูม (tumour) ในกระเพาะอาหารของสัตว์กินเนื้อ (carnivore) เช่นแมว สุนัข ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้ให้อาศัยโดยแท้ ท้จริง (definitive host) เมื่อพยาธิตัวจี๊ดผสมพันธุ์ภายในก้อนทูมตัวเมียจะออกไข่และปล่อยออกทางรูติดต่อของ ก้อนทูมไปตามลำไส้ของสัตว์กินเนื้อออกมาพร้อม กับอุจจาระ จากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนระยะที่หนึ่งภายใน 7 วัน ที่อุณหภูมิประมาณ 27 0C


ภาพประกอบ 6 ก้อนทูมที่บริเวณผนังกระเพาะของแมว ภายใต้มีพยาธิตัวจี๊ด


โดย ผกายดาว สุธาพรพิทักษ์ บทความจากสสวท.