จากลายนิ้วมือถึงลายม่านตา

ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดให้สิ่งมีชีวิตมีความเหมือนหรือแตกต่างกัน และมีลักษณะทางพันธุกรรมหลายลักษณะที่อาจแปรผันไปไ ด้เนื่องจากอิทธิพลของสิ่งแวด-ล้อม เช่น สีผิวของคน สติปัญญา ขนาดหรือน้ำหนักของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น แต่มีลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เช่น ลายนิ้วมือ ลายดีเอนเอในหมู่เลือดระบบ ABO และลายม่านตา ลักษณะทา งพันธุกรรมเหล่านี้เป็นลักษณะเฉพาะในแต่ละบุคคลจึงนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการพิสูจน์หลักฐาน

การใช้ลายนิ้วมือมาเป็นหลักฐานตรวจสอบบุคคลได้มีมานานแล้ว สมัยก่อนผู้ที่อ่านเขียนหนังสือไม่ได้ใช้การพิมพ์ลายนิ้วมือแทน และในการสืบสวนหาตัวอาชญากรที่ทิ้งลายนิ้วมือเอาไว้ในบริเวณประกอบอาชญากรรม ก็มีการพิมพ์ลายนิ้วมือขอ งผู้กระทำผิดหรืออาชญากรเก็บไว้เป็นหลักฐานในแฟ้มของตำรวจ หรือบุคคลที่เข้ารับราชการหรือทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ก็มีการพิมพ์ลายนิ้วมือเก็บไว้เป็นหลักฐานในหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย

ลายดีเอนเอ ในหมู่เลือดระบบ ABO ก็เช่นเดียวกัน ก็สามารถใช้เป็นหลักฐาน ตรวจสอบบุคคลต่าง ๆ ได้ การพิสูจน์หลักฐานวิธีนี้เป็นสิ่งที ่เพิ่งนำมาใช้เมื่อประมาณเกือบสิบปีมานี้เอง และกำลังมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบหาตัวอาชญากรที่ไม่ทิ้งร่องรอย เป็นลายนิ้วมือเอาไว้ แต่มีสิ่งอื่น ๆ ทิ้งไว้แทน เช่น คราบอสุจิ คราบเลือด เส้นขนหรือผม การพิสูจน์คือต้องทำลายคราบเลือด เส้นผม ค ราบอสุจิ เพื่อให้เห็นลายดีเอนเอตำรวจ ก็สามารถได้หลักฐานสำคัญมัดตัวอาชญากรได้อย่างที่อาชญากรคาดไม่ถึง

นอกจากหลักฐาน 2 วิธีดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้พัฒนาไปมากจนสามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้ตรวจสอบลายม่านตาไ ด้ จึงสามารถใช้เป็นหลักฐาน ได้คล้าย ๆ กับลายนิ้วมือหรือลายดีเอนเอ และหลักฐานชนิดนี้มีข้อดีกว่าใช้หลักฐานทางลายนิ้วมือและลายดีเอนเอบางประการที่น่าสนใจ คาดว่าน่าจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในอนาคตอันใกล้สำหรับตรวจสอบบุคคลากรที่จะเข้ าไปในสถานที่พิเศษ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศชาติ หรืออนาคตขององค์กรทางด้านธุระกิจระดับใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน หรื อโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ

ลักษณะการใช้งานของลายม่านตาจะคล้าย ๆ กับลายนิ้วมือ คืออาศัยระบบตรวจลาย ม่านตาของบุคคลที่ต้องการตรวจสอบ เปรียบเทียบกับลายม่านตาของบุคคลนั้น ซึ่งมีการตรวจสอบเอาไว้ก่อนแล้ว ระบบจะเป็นตัวบอกว่าเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่

ตัวอย่างการใช้งานของลายม่านตาเป็นดังนี้

นายดำจะเข้าไปในห้องพิเศษขององค์กรหนึ่ง ซึ่งต้องห้ามสำหรับบุคคลที่ ไม่เกี่ยวข้องที่ประตูห้องจะมีอุปกรณ์คล้ายเครื่องตรวจว ัดสายตาเหมือนร้านแว่นตา นายดำต้องมายืนที่จุดกำหนดแล้วยื่นหน้าเข้าไปอยู่ในตำแหน่งพอเหมาะติดกับอุปกรณ์คล้ายกล้องส่อง ตา สักครู่นายดำก้าวถอยหลังออกมาอีกเพียง 5 วินาทีมีไฟเขียวสว่างขึ้นที่เครื่อง ตัวอักษรจะปรากฎชื่อนายดำให้เห็น แล้วประตูจะเลื่อนเปิดออก เมื่อนายดำเดินผ่านประตู เข้าไปประตูจะเลื่อนปิด

การตรวจสอบลายม่านตาของบุคคลต่าง ๆ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสอลา มอส (Los Alamos National Laboratory) ในประเทศสหรัฐอเมริกามี โรเจอร์ จอห์นสตัน (Roger Johnston) และ เคลวิน เกรช (Kevin Grace) ร่วมทีมอยู่ด้วย เทคโนโลยีการตรวจสอบบุคลลากรโดยอาศัยลาย ม่านตาระบบแรกที่ใช้งานได้จริง มีชื่อเรียกว่า BATAS ประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ กล้องวีดีทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงสามารถตรวจ จับลักษณะของลายม่านตาได้อย่างละเอียดแล้วส่งข้อมูลเกี่ยวกับลายม่านตาให้ไมโครคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ เก็บเป็นรหัสทางคณิตศาสตร์ เป็นรหัส ลายม่านตาของแต่ละคนเอาไว้ในคลังลายม่านตา (ลักษณะคล้ายแฟ้มลายนิ้วมือ หรือแฟ้มดีเอ็นเอของตำรวจ)

ในทางปฏิบัติการใช้ลายม่านตา มีขั้นตอนคล้ายฉากสมมติเกี่ยวกับนายดำคือผู้ที่ ถูกตรวจสอบต้องให้ระบบเป็นกล้องวิดิทัศน์อ่านลายม่านตา โดยใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ออกมาเป็นรหัสลายม่านตา แล้วระบบก็จะเปรียบเทียบกับรหัสลายม่านตาของเจ้าตัว ในคลังลายม่านตานั่นเอง

การพิสูจน์หลักฐานโดยลายม่านตาเป็นวิธีที่ดีกว่าลายนิ้วมือคือปลอมแปลงไม่ได้เพราะลายนิ้วมือสามารถปลอมแปลงได้ และยังดีกว่าดีเอนเอคือวิธีการตรวจสอบง่ายกว่า และสามารถตรวจสอบได้ทันที ปัจจุบันเทคโนโลยีการใช้ลายม่านตายังอยู่ในระยะแรก ๆ ของการพัฒนาความแม่นยำจากการทดสอบ แต่ก็ปรากฏว่าแม่นยำถึง 96-98% นับว่าสูงมาก และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีการปรับปรุงวิธีการนี้อยู่ตลอดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทดสอบที่สูงกว่านี้ เพราะฉะนั้นในอนาคตอันใกล้การตรวจสอบบุคคลากรในวงการต่าง ๆ คงจะใช้เทคโนโลยีใหม่โดยการตรวจลายม่านตาเข้ามาแทนหรือเสริมลายนิ้วมือและลายดีเอ็นเอ
โดยชัยวัฒน์ คุประตกุล "คลื่นยาว" เดลนิวส์ ฉบับที่ 16573 27 ก.พ. 2538 หน้า 31.