สุขภาพดีต้อนรับปีใหม่
มีปัจจัยต่างๆ มากมายที่ก่อให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ หรืออวัยวะ นอกจากจะเกิดจากคำสั่งของยีนส์ (Gene) บนโครโมโซมของเราแล้ว สารตกค้างที่อยู่ในเซลล์ที่เรียกว่า "สารอนุมูลอิสระ" (Free Radicals) ก็ถึอเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน

อนุมูลอิสระ (Free Radicals) นี้ถ้าอธิบายง่าย แบบวิทยาศาสตร์ก็คือ โมเลกุลของสารใด ๆ ก็ตามที่ล่องลอยอยู่ ในเซลล์ของเรา โดยโมเลกุลเหล่านี้มีที่มาได้มากมาย ไม่ว่าจะมาจากการที่ร่างกายตั้งใจรับเข้ามาเพื่อเอามาใช้ประโยชน์ เช่น พวกออกซิเจน แต่ออกซิเจนที่จะกลายเป็นอนุมูลอิสระก็จะเป็นโมเลกุลออกซิเจนที่เหลือจากากรใช้ประโยชน์ของเซลล์ต่าง ๆ แล้ว ส่วนพวกที่ร่างกายไม่ได้ตั้งใจนำมันเข้ามา แต่เข้ามาพร้อมอาหาร หรือการหายใจปกติ ก็ได้แก่ พวกโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท ฯลฯ

โมเลกุลของสารเหล่านี้เมื่อล่องลอยอยู่ในร่างกายนานๆ ก็จะมีการชนกันกับโมเลกุลของสารต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในเซลล์ ทำให้เกิดการหลุดออกของอิเล็กตรอน (Electron) จากโมเลกุลของมัน เอง ทำให้โมเลกุลของสารดังกล่าวเกิดประจุไฟฟ้าขึ้น และมีสถานะที่พร้อมจะทำปฏิกิริยากับ โมเลกุลของสารใด ๆ ก็ตามที่อยู่ในเซลล์ได้ตลอดเวลา ถ้าอนุมูลอิสระดังกล่าวนี้ไปทำปฏิกิริยา กับไลโปโปรตีน (Lipoprotein) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) ก็จะส่ง ผลให้เยื่อหุ้มเซลล์เกิดการฉีกขาดมีการไหลของสารต่าง ๆ ออกนอกเซลล์ เซลล์นั้นก็จะตาย หรือโดนทำลายไป

ถ้าเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวนี้ที่เซลล์บริเวณเดียวกันหลาย ๆ เซลล์ ก็จะส่งผล ให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะที่เซลล์เหล่านั้นอยู่นั่นเอง นอกจากอนุมูลอิสระจะทำปฏิกิริยาได้กับ เยื่อหุ้มเซลล์แล้ว ถ้าหากไปทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของอาร์เอ็นเอ (RNA) ในนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติในขบวนการแบ่งตัวและเจริญเติบโตของ เซลล์ ก่อให้เกิดภาวะมะเร็ง (Cancer) ที่อวัยวะต่าง ๆ ได้เช่นกัน และถ้าหากอนุมูลอิสระ ดังกล่าวทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของไลปิดเปอร์ออกไซด์ (Lipidperoxide) หรือไลโปฟุสชิน (Lipofuchin) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดฝ้าหรือกระแก่ ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยที่เราพบว่า เมื่อ มนุษย์มีอายุมากขึ้นเรามักจะพบความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายอันเป็นผลสืบ เนื่องจากความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นนั่นเอง


โดยเภสัชกรอมรเทพ กลิ่นสุคนธ์ คอลัมส์ Live well guide ฐานเศรษฐกิจ 3-6 ม.ค. 2542 หน้า 13