เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้วได้เกิดมีอุกกาบาตหรือดาวหางขนาดมหึมาพุ่งเข้าชนโลก ทำให้ฝุ่นจำนวนมหาศาลลอยฟุ้งขึ้นไป
แขวนลอยอยู่ในอากาศเป็นชั้นหนาทึบและแผ่ปกคลุมโลกไว้เป็นเหตุให้แสงอาทิตย์ถูกบดบัง
จากฝุ่น พืชพรรณไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่สัตว์ต่างๆ ล้มตายลง
ไม่ว่าจะเป็นไดโนเสาร์กินพืชหรือกินเนื้อต่างพากันขาดอาหารและล้มตายไปในที่สุด แต่การ
หายไปของไดโนเสาร์เหล่านั้นไม่ได้เป็นไปอย่างกะทันหันแต่จะค่อยๆ ลดจำนวนลงเรื่อยๆ
จนกระทั่งหมดไป เพราะจากการสำรวจของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อว่านาย แกรี่
แลนดีส (GARY LANDIS) ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์นั้นเกิดจากปริมาณ
ของก๊าซออกซิเจนในอากาศไม่เพียงพอต่อการหายใจที่ทราบ เช่นนี้เพราะ นายแลนดีส ได้
ทำการวัดปริมาณของก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในซากดึกดำบรรพ์ของยางไม้ในสมัยที่ไดโนเสาร์
ครองโลก พบว่าปริมาณออกซิเจนในช่วงเวลา 2 ล้านปีก่อนสิ้นยุคครีเตเชียส มีประมาณ 35% แต่หลังจากที่สิ้นสุดยุคนี้แล้วปริมาณออกซิเจนลดลงเหลือเพียง 28% ซึ่งเป็นช่วงที่
ไดโนเสาร์ สูญพันธุ์ไปจากโลกพอดี ปัจจุบันนี้ประมาณของก๊าซออกซิเจนเหลือเพียง 21%
เท่านั้น รวมความแล้วการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์มาจากระบบการหายใจขัดข้องเพราะขาด
ก๊าซออกซิเจนในการหายใจ เผ่าพันธุ์ของไดโนเสาร์ในอเมริกาจึงลดลงจาก 35 ชนิดเป็น 12
ชนิดเมื่อสิ้นยุคครีเตเชียส แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ยังเป็น