พจนานุกรมคำศัพท์

palisade cell

เซลพาลิเสด : เซลที่เรียงตัวกันเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบ อยู่ถัดจากชั้นเอปิเดอร์มิส ด้านบนของใบพืช เซลพาลิเสดมีรูปร่างค่อนข้างยาว ภายในมีคลอโรปลาสต์จำนวนมาก


palmitic acid
กรดปาล์มิติก : กรดไขมันชนิดหนึ่ง ผลึกสีขาวละลายได้ในอัลกอฮอล์ และอีเธอร์ มีอยู่ ในน้ำมันปาล์มไขปลาวาฬ เป็นต้น


pancreas
ตับอ่อน : อวัยวะภายในช่องท้องของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยบาง ชนิดมาข่วยย่อยอาหารในลำไส้เล็ก และสร้างฮอร์โมนอินซูลินกับกลูคากอน


papilla
ปาปิลลา : ปุ่มเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากชั้นเมดุลลาของไต เป็นที่รวมของท่อรับ ของเหลว


parasite
ปรสิต : สิ่งมีชีวิต เช่น พยาธิ แบคทีเรียบางชนิด กาฝาก ที่อาศัยในส่วนใดส่วนหนึ่งของ สัตว์หรือพืชและดูดกินเนื้อเยื่อหรืออาหารที่ย่อยแล้วของผู้ถูกอาศัย ทำให้ผู้ถูกอาศัยเป็น โรคหรือมีอาการผิดปกติ


parasitism
ภาวะมีปรสิต : สภาพความสัมพันธ์แบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์จากการอยู่ร่วมกันนั้น เช่น พยาธิใบไม้ในตัยวัว พยาธิปากขอในลำไส้คน เป็นต้น


parasympathetic nervous systme
ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก : ส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติประกอบด้วยเส้น ประสาทจำนวนหนึ่งที่ออกจากเมดุลลาออบลองกาตา และอีกจำนวนหนึ่งที่ออกจาก ไขสันหลังบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ ระบบประสาทนี้ทำงานตรงข้ามกับระบบประสาท ซิมพาเธติกคือ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานช้าลง


parathion
พาราไธออน : สารเคมีชนิดหนึ่งใช้เป็นยาฆ่าแมลง มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าแมลง ในไร่ นา สวน และเป็นพิษอย่างแรงต่อคนและสัตว์


parthormone
พาราเธอร์โมน : ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมพาราไธรอยด์ ทำหน้าที่รักษาสมดุลของ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในร่างกายให้คงที่


parathyroid gland
ต่อมพาราไธรอยด์ : ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอยู่ บริเวณลำคอติดกับต่อมไธรอยด์ ทำหน้าที่สร้างพาราธอร์โมน


passive immunity
ภูมิคุ้มกันรับมา : ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายได้รับมาจากการฉีดเซรุ่ม ซึ่งมีแอนติบอดีอยู่ด้วย ด้วยวิธีนี้จะทำให้รางกายมีภูมิคุ้มกันทันที


pasteurization
การฆ่าเชื้อแบบพาสเตอร์ : การฆ่าเชื้อโรคในอาหารที่เป็นของเหลวโดยใช้ความร้อน ที่ไม่สูงนักแล้วทำให้เย็นลงอย่างเร็วเพื่อรักษาคุณค่าของอาหารให้คงเดิม เช่น การฆ่าเชื้อโรค ในน้ำนมโดยให้ความร้อนประมาณ 62 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที แล้วทำให้ เย็นลงอย่างรวดเร็ว


pectin
เพกติน : สารพวกโพลิเมอร์ พบในเยื่อระหว่างเซลของพืช ทำหน้าที่ยึดเซลเพิ่มความ แข็งแรงให้แก่เนื้อเยื่อพืช>p>
pectoral fin
ครีบอก : ระยางที่อยู่ใกล้บริเวณหัวของปลามี 1 คู่ ทำหน้าที่พยุงลำตัวปลา และช่วยใน การเคลื่อนที่


pelvic fin
ครีบสะโพก : ระยางที่อยู่ด้านท้องของปลา มี 1 คู่ ทำหน้าที่พยุงตัวปลาให้ลอยและ เคลื่อนที่ไปในน้ำ


pelvis
เพลวิส : ส่วนที่เป็นโคนของท่อไต มีรูปร่างคล้ายกรวย ทำหน้าที่รับน้ำปัสสาวะภายใน ไต แล้วถ่ายให้แก่ท่อไต


penicillin
เพนิซิลลิน : ยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งสกัดได้จากเห็ดราที่มีชื่อว่า Penicillium notatum


pepsin [pepsinogen]
เปปซิน : เอนไซม์ที่กระเพาะอาหารสร้างขึ้นสำหรับย่อยโปรตีนให้เป็นโปรติโอสและ เปปโตน


peptide
เปปไตด์ : สารที่อยู่ระหว่างการย่อยเปปโตนไปเป็นกรดอะมิโน ประกอบด้วยกรด อะมิโนตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปต่อกันเป็นสายด้วยพันธะเปปไตด์


peptide bone
พันธะเปปไตด์ : พันธะที่ยึดระหว่างคาร์บอนของหมู่คาร์บอกซิลในกรดอะมิโนตัวหนึ่ง กับไนโตรเจนของกรดอะมิโนอีกตัวหนึ่งในเปปไตด์


pepton
เปปโตน : สารที่อยู่ระหว่างการย่อยโปรติโอสไปเป็นเปปไตด์


pericycle
เพอริไซเคิล : ชั้นของเซลที่อยู่ระหว่างเอนโดเดอร์มิสและวาสคิวลาร์บันเดิลของ พืชชั้นสูง


peripheral nervous system
ระบบประสาทรอบนอก : ระบบประสาทส่วนหนึ่งของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบ ด้วยเส้นประสาทไขสันหลังและเส้นประสาทสมอง


peristalsis
เพอริสแตลซิส : การหดตัวของกล้ามเนื้อของทางเดินอาหาร ซึ่งหดตัวเป็นช่วงๆ ติดต่อ กัน ทำให้อาหารเคลื่อนที่และช่วยในการย่อยอาหาร


pernicious anemia
เพอร์นิเซียสแอนีเมีย : โรคโลหิตจางชนิดหนึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถรับ วิตาะมิน B12 ไปใช้ได้ มีอาการลิ้นอักเสบ และอาการทางประสาท


persistence of vision
การเห็นภาพติดตา : ความรู้สึกที่เหมือนกับเห็นภาพของวัตถุถึงแม้วัตถุนั้นจะพ้นสายตา ไปแล้ว การที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากกระแสประสาที่กระตุ้นให้เห็นภาพยังคงค้างอยู่บนประสาท รับภาพ


pesticide
ยาฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ : สารเคมีที่ใช้ฆ่าหรือทำลายศัตรูพืชและสัตว์ ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช ยาฆ่าเชื้อรา


petal
กลีบดอก : โครงสร้างของดอกชั้นถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไป ทำหน้าที่ป้องกันเกสรขณะที่ ดอกยังอ่อนและล่อแมลงให้มาช่วยในการถ่ายละอองเรณู มักจะมีสีต่างๆ สวยงาม


petiole
ก้านใบ : ส่วนของใบพืชที่ยึดแผ่นใบติดกับลำต้น


phagocytosis
ฟาโกไซโตซิส : กระบวนการที่เม็ดเลือดขาวทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมโดยการ ใช้เยื่อหุ้มเซลโอบล้อมเชื้อโรคไว้จนในที่สุดเชื้อโรคนั้นหลุดเข้าไปอยู่ในเซลและถูกย่อย ทำลาย


pharynx
คอหอย : ส่วนหนึ่งของทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เป็นช่องทางร่วม ของหลอดลมกับหลอดอาหาร


phenotype
ฟีโนไทป์ : ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็นดโยการควบคุม ของยีน


pheromone
ฟีโรโมน : สารเคมีที่สัตว์บางพวกสร้างและปล่อยออกนอกร่างกาย เพื่อสื่อความหมาย บางประการต่อสัตว์ชนิดเดียวกัน เช่น กลิ่นของชะมดที่ช่วยล่อเพศตรงข้ามให้มาหา


phloem
โฟลเอม, เนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร : เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารในพืชชั้นสูง ประกอบด้วยเซลรูปร่างต่างๆ กันหลายชนิด


photosynthesis
การสังเคราะห์แสง : กระบวนการสร้าอาหารของสิ่งมีชีวิตที่มีคลอโรฟิล เช่น พืชสีเขียว และโปรติสต์บางชนิด โดยใช้น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ และมีคลอโรฟิล กับ พลังงานแสง เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาผลที่ได้คือ คาร์โบไฮเดรตและก๊าซออกซิเจน กระบวนการ นี้แสดงได้โดยสมการ


phylum
ไฟลัม : ลำดับหนึ่งในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (ดู kingdom ประกอบ)


physical contact
การสื่อด้วยการสัมผัส : พฤติกรรมทางสังคมของสัตว์โดยใช้การสัมผัสเป็นสื่อบอก ความหมายซึ่งกันและกัน


physical factor
ปัจจัยทางกายภาพ : สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต เช่น ดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น


pigment
รงควัตถุ : สารมีสีที่อยู่ในเซลพืชหรือสัตว์ เช่น คอลโรฟิล เป็นรงควัตถุสีเขียวซึ่งทำให้ ใบไม้มีสีเขียว


pigment cell
เซลสี : เซลที่มีรงควัตถุอยู่ภายในเป็นเซลที่ทำให้เกิดสีในส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น สีที่ผิวหนังของสัตว์ทั่วๆ ไป


pineal gland
ต่อมไพเนียล : ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง อยู่บริเวณกึ่งกลาง ระหว่างซีรีบรัมพูซ้ายและพูขวา ในสัตว์ชั้นต่ำทำหน้าที่รับแสง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเมลาโตนิน


pistil
เกสรตัวเมีย : อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย คอเกสร ตัวเมียและรังไข่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการสืบพันธุ์ของพืชดอก


pith
พิธ : เนื้อเยื่อบริเวณกลางลำต้นและรากเป็นเซลที่มีผนังเซล์บาง ในพืชบางชนิดเมื่อมี อายุมากขึ้นพิธจะสลายตัวไปกลายเป็นช่องกลางลำต้น เช่น ต้นไผ่ มะละกอ เป็นต้น


pituitary gland
ต่อมใต้สมอง : ต่อมไร้ท่อที่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปธาลามัส ต่อมนี้แบ่งออก เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง แต่ละส่วนสร้างฮอร์โมนต่างๆ กัน ฮอร์โมนเหล่านี้จะควบคุมต่อมไร้ท่อเกือบทั้งหมดของร่างกาย


placenta
รก : บริเวณที่เนื้อเยื่อชั้นนอกของเอมบริโอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเจริญมาพบกับ ผนังมดลูกของแม่เป็นที่แลกเปลี่ยนอาหาร ก๊าซ และของเสียระหว่างเอมบริโอและแม่


plant kingdom
อาณาจักรพืช : หมวดหมู่ที่รวมพืชทุกชนิดเข้าไว้ด้วยกัน


platelet
เพลตเลต : ชิ้นส่วนของไซโตพลาสซึมของเซลชนิดหนึ่งในไขกระดูกและเข้าสู่เส้นเลือด มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 ไมโครเมตร ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อ เกิดบาดแผล


pneumococcus
นิวโมคอคคัส : แบคทีเรียพวกหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบในสัตว์


poikilothermic animal
สัตว์เลือดเย็น : สัตว์ที่อุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสภาพ แวดล้อม ได้แก่ ปลา สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น


polar body
โพลาร์บอดี : เซลที่เกิดจากการแบ่งเซลแบบไมโอซิสในกระบวนการสร้างไข่ เป็นเซล ส่วนที่จะฝ่อไปในภายหลัง


polar nucleus
โพลาร์นิวเคลียส : นิวเคลียสคู่หนึ่งที่อยู่ตรงกลางถุงเอมบริโอของพืชดอกเมื่อผสมกับ สเปิร์มนิวเคลียสแล้วจะเจริญเป็นเอนโดสเปิร์มอยู่ภายในเมล็ดพืช


pollen grain
ละอองเรณู : เซลสืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอกอยู่ภายในอับละอองเรณูของเกสรตัวผู้


pollen sac
ถุงละอองเรณู : ส่วนหนึ่งของอับละอองเรณูของพืชดอก ซึ่งบรรจุละอองเรูณจำนวน มากอยู่ภายใน


pollen tube
หลอดละอองเรณู : หลอดที่งอกยื่นออกจากละอองเรณูไปตามคอเกสรตัวเมียเข้าไปยัง รังไข่ เพื่อนำสเปิร์มนิวเคลียสเข้าไปผสมกับไข่ในโอวูลได้


pollinating
การถ่ายละอองเรณู : การที่ละอองเรณูของพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ไปตกอยู่บนยอดเกสร ตัวเมียของพืชชนิดเดียวกัน แล้วงอกหลอดละอองเรณูนำสเปิร์มนิวเคลียสเข้าไปผสมกับ ไข่ในโอวูล การถ่ายละอองเรณูอาจเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติหรือโดยการกระทำของมนุษย์


polypeptide
โพลิเปปไตด์ : สารที่ประกอบขึ้นด้วยโมเลกุลของกรดอะมิโนหลายชนิดต่อเรียงกัน ด้วยพันธะเปปไตด์เป็นสายยาวเกิดเป็นโมเลกุลของโปรตีน


polysaccharide
น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ : สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาล โมเลกุลเดี่ยวมาเรียงต่อกันมากกว่า 2 โมเลกุลขึ้นไป เช่น แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส เป็นต้น


population
ประชากร : กลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในที่เดียวกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง


population control
การควบคุมจำนวนประชากร : การจำกัดจำนวนประชากรให้เพิ่มในอัตราที่สัมพันธ์กับ ปริมาณอาหารและพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจเป็นไปโดยธรรมชาติ หรือถูกควบคุมโดยวิธีการ ต่างๆ เช่น การทำหมัน เป็นต้น


population density
ความหนาแน่นของประชากร : จำนวนประชากรต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่


population growth
การเพิ่มประชากร : การเพิ่มจำนวนประชากรโดยคิดจากการเกิด การตาย การอพยพ เข้าและการอพยพออกของประชากร


positive phototropism
ภาวะเข้าหาแสง : ภาวะที่สิ่งมีชีวิตเอนหรือเคลื่อนที่เข้าหาแสงสว่าง เช่น ลำต้นพืชด้าน ที่ได้รับแสงจะเจริญน้อยกว่าด้านที่ไม่ได้รับแสง ลำต้นจึงโค้งเอนเข้าหาแสง


posterior lobe (of pituitary gland)
ส่วนหลัง (ของต่อมใต้สมอง) : บริเวณส่วนหลังของต่อมใต้สมอง เป็นส่วนของเนื้อเยื่อ ประสาทที่มีกลุ่มปลายแอกซอนของเซลประสาทจากสมองมาติดต่อด้วยซึ่งมีปลายแอกซอน จะปล่อยฮอร์โมนวาโซเปรซซินและออกซิโตซินออกมา


postereproductive age
ระยะหลังสืบพันธุ์ : วัยของสิ่งมีชีวิตในช่วงที่พ้นระยะสืบพันธุ์แล้ว สำหรับคนใช้เกณฑ์ ช่วงอายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป


potometer
โปโตมิเตอร์ : อุปกรณ์ที่ใช้วัดอัตราการคายน้ำหรืออัตราการดูดน้ำของพืช


predation
การล่าเหยื่อ : วิธีการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตที่คอยล่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร


predator
ผู้ล่า : สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีพโดยการล่าสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร


prereproductive age
ระยะก่อนสืบพันธุ์ : วัยของสิ่งมีชีวิตในช่วงที่ยังไม่สามารถสืบพันธุ์ได้สำหรับคนใช้ เกณฑ์ช่วงอายุประมาณ 1-15 ปี


prey
เหยื่อ : สิ่งมีชีวิตที่ถูกสิ่งมีชีวิตอื่นล่ากินเป็นอาหาร


primary oocyte
โอโอไซด์ระยะแรก : เซลที่เปลี่ยนแปลงมาจากโอโอโกเนียม และพร้อมที่จะแบ่งเซลแบบ ไมโอซิสกลายเป็นโอโอไซด์ระยะที่สอง


primary spermatocyte
สเปอร์มาโตไซด์ระยะแรก : เซลที่เปลี่ยนแปลงมาจากสเปอร์มาโตโกเนียมและพร้อมที่ จะแบ่งเซลแบบไมโอซิสกลายเป็นสเปอร์มาโตไซด์ระยะที่สอง


primordial germ cell
ไพรมอร์เดียลเจิร์มเซล : เซลซึ่งพบในอวัยวะสืบพันธุ์ของส้ตว์ในระยะเอมบริโอ ต่อไป จะแบ่งตัวสร้างสเปอร์มาโตโกเนียมในเพศผู้และสร้างโอโอโกเนียมในเพศเมีย


producer
ผู้ผลิต : พืชสีเขียวหรือโปรติสด์ที่มีคลอโรฟิลสามารถสังเคราะห์แสงได้ และเก็บพลังงาน ไว้ในโมเลกุลของอาหารซึ่งจะถ่ายทอดต่อไปยังสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น


prophase
โปรเฟส : ระยะหนึ่งของการแบ่งเซลถัดจากอินเตอร์เฟส เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญภายในนิวเคลียส คือแต่ละโครโมโซมจะหดตัวสั้นลงปรากฏให้เห็นเป็นท่อนและ แบ่งตัวตามยาวเป็น 2 โครมาติด


prostate gland
ต่อมลูกหมาก : ต่อมขนาดใหญ่ล้อมรอบท่อฉีดอสุจิ มีหน้าที่ผลิตสารพวกด่างเพื่อ ทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ


protease
โปรติเอส : เอนไซม์ย่อยโปรตีน


protein
โปรตีน : สารอาหารประเภทที่ให้พลังงาน เป็นโพลิเปปไตด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน จำนวนมากเรียงต่อกัน สารอาหารชนิดนี้จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตคือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และเสริมสร้างซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้คงสภาพเป็นปกติ


proteose
โปรติโอส : สารที่อยู่ระหว่างการย่อยโปรตีนไปเป็นเปปโตน


prothrombin
โปรธรอมบิน : เอนไซม์ชนิดหนึ่งในน้ำเลือดซึ่งจะถูกเปลี่ยนต่อไปให้เป็นธรอมบินเพื่อ ช่วยเร่งการแข็งตัวของเลือด


protise
โปรติสต์ : สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างง่ายๆ อาจประกอบด้วยเซลเดียวหรือหลายเซล แต่มิ ได้รวมกันเป็นเนื้อเยื่อไม่จัดว่าเป็นพืชหรือสัตว์ เช่น โปรโตซัว สาหร่าย แบคทีเรีย เห็นรา เป็นต้น


protocooperation
การได้ประโยชน์ร่วมกัน : ความสัมพันธ์แบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ต่างฝ่ายต่าง ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกันในขณะที่มาดำรงชีพร่วมกัน แต่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดนั้นไม่จำเป็น ต้องอาศัยอยู่ด้วยกันตลอดเวลา เช่น นกเอี้ยงเกาะบนหลังควาย เป็นต้น


protoplasm
โปรโตปลาสซึม : สารประกอบเชิงซ้อนพวกคอลลอยด์ในเซลประกอบด้วย ไซโตปลาสซึมและนิวเคลียส


protozoa
โปรโตซัว : โปรติสต์เซลเดียวที่มีขนาดเล็ก จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่เป็น 4 พวก คือซิลิเอต แฟลกเจลเลต ซูโดปอด และสปอโรโซน


pseudopod
ซูโดปอด : โปรโตซัวซึ่งเคลื่อนที่โดยซูโดโปเดียม เช่น อมีบา เป็นต้น


pseudopodium
ซูโดโปเดียม : ส่วนของไซโตปลาสซึมที่ด้นเยื่อหุ้มเซลยื่นออกมา ช่วยในการเคลื่อนที่ ของเซลพบในซูโดปอดและเม็ดเลือดขาวบางชนิด


psilotum
ไซโลตัม : พืชพวกหนึ่งที่มีระบบท่อลำเลียงจัดอยู่ในดิวิชันเทรคีโอไฟตา มีไรซอยด์ ทำหน้าที่แทนราก มีกิ่งแตกออกมาเป็นคู่ๆ และมีใบเป็นเส้นเล็กๆ ติดอยู่ตามข้อ


ptyallin
ไทยาลิน : เอนไซม์พวกอะไมเลสมีอยู่ในน้ำลาย มีสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาย่อยแป้ง ให้เป็นน้ำตาล


pulmonary artery
พูลโมนารีอาร์เตอรี : เส้นเลือดที่นำเลือดซึ่งขาดออกซิเจนมาจากหัวใจห้องเวนตริเกิล ขาวไปยังปอด


pulmonary vein
พุลโมนารีเวน : เส้นเลือดที่นำเลือดซึ่งมีออกซิเจนมาจากปอดเข้าสู่หัวใจทางห้อง เอเตรียมซ้าย


pulse
ชีพจร : การบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ซึ่งปรากฏในเส้นเลือดเป็นจังหวะ


pulvinus
พัลวินัส : กลุ่มเซลที่มีขนาดใหญ่ผนังเซลบาง มีความไวสูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น อยู่ บริเวณโคนก้านใบของพืชบางชนิด เช่น ต้นไมยราบ


pupil
ปิวปิล : ช่องกลมตรงกลางม่านตา ซึ่งสามารถปรับให้มีขนาดแคบลงหรือกว้างขึ้นได้ เพื่อควบคุมแสงที่เข้าสู่เลนส์ตาให้มีปริมาณพอเหมาะ


pyridoxine
ไพริดอกซิน : วิตามิน B6 เป็นผลึกรูปเข็มไม่มีสี ถ้าร่ายกายขาดวิตะมินชนิดนี้ จะทำให้เกิดการบวน คันผิวหนัง ผมร่วง ปวดตามือตามเท้า ประสาทเสื่อม