แสงไฟกับการอนุรักษ์เต่าทะเล

มนุษย์ได้เปลี่ยนให้โลกนี้มีแสงในตอนกลางคืน พฤติกรรมนี้มีผลต่อระบบนิเวศแน่นอน เพราะแสงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลกระ ทบต่อสัตว์ที่มีกิจกรรมตอนกลางคืน แสงจึงน่าจะเป็นที่สนใจของนักอนุรักษ์ธรรมชาติว่ามีผลเสียต่อชีวิตอื่น ๆ บนผิวโลกอย่างไร

เวอไฮเจนได้ใช้คำว่า photopollution เพื่อแสดงความเสียหายที่เกิดจากการใช้แสงแล้วรบกวนสิ่งแวดล้อมนั้น แสงเป็น pollutant ที่คุ้นเคยสำหรับมนุษย์ มันแตกต่างจาก pollutant อื่น คือ แสงเป็นพลังงานไม่ใช่วัตถุ มันมีหลาย spectrum และมีหลายความเข้ม แสงมีผลกระทบต่อพฤติกรรมสัตว์ได้อย่างไร มันกระทบต่อระบบการควบคุมที่ผ่านการมองเห็น และกระทบต่อการดำเนินชีวิตตามเวลาของสัตว์ แสงไม่ทำให้เป็นพิษแต่ทำให้ เข้าใจผิด มันจึงอาจมีผลต่อพฤติกรรมที่กำหนดโดยแสงธรรมชาติ ดังนั้นแสงไฟฟ้าย่อมมีผลกระทบต่อการมีชีวิตรอดของมัน

ในที่นี้มีตัวอย่างว่าแสงทำให้ลำดับของพฤติกรรมเกิดสะดุดอย่างไร สิ่งที่ศึกษาไว้มากคือ เรื่องการอยู่รอดของลูกเต่าทะเลที่เพิ่งฟักจากไข่ คำตอบของการแก้ปัญหานี้ จะช่วยให้เกิดความคิดเชิงอนุรักษ์กับสัตว์อื่น ๆ ด้วย

แสงทำให้สัตว์เข้าใจผิดและเปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างไร

ตัวอย่างที่ 1
แมลงที่ออกหากินเวลากลางคืน จะถูกดึงดูดโดยแสงไฟ มีแมลงจำนวนมาก ตายลงทุกคืน เนื่องจากแสงเป็นสิ่งล่อ ความเสียหายจากการตายของแมลง เหล่านี้ยังไม่มีใครประเมิน เช่น ค่าเสียหายที่พืชไม่ได้รับการผสมเกสรใน เวลากลางคืนเป็นเท่าไร
ตัวอย่างที่ 2
คือการใช้แสงสว่างมาก ล่อปลาและ ปลาหมึกมาที่ผิวน้ำ มันทำให้สัตว์ทะเล ทุกชนิดที่ตอบสนองต่อแสงเข้ามาถูกจับโดยไม่จำเป็น ถ้ามีการศึกษาคัด เลือกความเข้มของแสงก็อาจจะลดปัญหาการจับสัตว์น้ำที่ไม่ต้องการล่งได้ เนื่องจากสัตว์แต่ละอย่างมีคุณสมบัติในการตอบสนองต่อแสงอย่างจำเพาะ ที่ไม่เท่ากัน ทั้งทาง spectrum และความเข้มของแสง
ตัวอย่างที่ 3

เต่าทะเลได้รับผลกระทบจากแสง ไฟฟ้าที่ชายหาดมาก ในบริเวณที่เต่าขึ้นมาไข่ แสงเป็น pollution ที่สำคัญ ทำให้เต่าทะเลเกือบสูญพันธุ์ แสงทำให้แม่เต่า หนีไปจากบริเวณชายหาดที่เคยไข่มาตลอดชั่ววิวัฒนาการของเต่า ถ้ามันขึ้น มาไข่บนหาดที่มีแสงไฟสว่าง ลูกเต่าที่ฟักออกมาตลอดกลางคืนอาจหลงทาง เนื่องจากแสงดึงดูดให้มันขึ้นบก มากกว่าจะลงทะเล ลูกเต่าจำนวนมาก เดินไปหาไฟที่ถนนและถูกรถทับตาย หรือเดินเข้ากองไฟถูกไฟไหม้ตาย ลูกเต่าที่หลงทางเหล่านี้ อ่อนแอและกลายเป็นเหยื่อของนกและปูที่อยู่ ชายหาดอีกด้วย เคยมีผู้พบว่าลูกเต่ามาสุมกันตายใกล้จุดที่ให้แสงสว่างของ ชายหาด ลูกเต่าเหล่านี้หาทางลงทะเลไม่ได้ มันไม่สามารถกำหนดทิศทางได้ ถูก การอยู่รอดของลูกเต่าทะเลจะถูกรบกวนโดยแสง ถึงแม้ว่าแสงจะอยู่ห่าง ไกลออกไปถึง 10-20 เมตร ก็ยังรบกวนการตั้งทิศลงทะเลของลูกเต่า ชายหาด ที่มีแสงจึงนับเป็นอันตรายต่อลูกเต่าในบริเวณนั้น เพราะเต่าเป็นสัตว์ที่มีการ ตอบสนองแบบเข้าหาแสง แสงจึงเป็นเสมือนเข็มทิศช่วยกำหนดทิศที่จะไป ผึ้ง ผีเสื้อและนกก็อาศัยแสงอาทิตย์ แสงจันทร์หรือดาวสว่างบางกลุ่ม สัตว์เหล่านี้ถ้ามายึดเอาแสงไฟฟ้าที่เราทำขึ้น จะทำให้มันหลงทิศได้เมื่อมีแสง หลายจุดเพิ่มขึ้น

โดยธรรมชาติ ลูกเต่าส่วนใหญ่ฟักออกมาจากไข่ระหว่าง 4 ทุ่งถึงตี 2 มันจะมองเห็นแสงสว่างที่ขอบฟ้า แสงที่ดึงดูดมันได้ เป็นแสงที่มีสีและความเข้มข้นของแสงคงที่ มันไม่สนใจแสงสีเหลือง และมันจะสนใจแสงที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้น (ช่วงใต้ม่วงถึงเหลือง) และไม่สนใจแสงที่เป็นชนิดความยาวคลื่นยาว (แสงสีแดง)

ในการศึกษาเรื่องผลของแสงที่กระทบต่อพฤติกรรมสัตว์ชนิดอื่นอาจจะดูจากการศึกษาเต่าเป็นแบบอย่างดังนี้
  1. พิจารณาว่าสัตว์นั้นเกิดในเวลากลางวันหรือกลางคืน แสงจะมีผลให้ลูกสัตว์เดินทางไปผิดที่หรือไม่
  2. ศึกษา spectrum ของแสงว่า แสงขนาดใดที่จะมีผลต่อพฤติกรรมน้อยที่สุด เช่น เต่าจะไม่สนใจแสงเหลืองหรือแดง
  3. ความเข้มข้นของแสง เท่าใดที่กระทบต่อพฤติกรรมของสัตว์ ต้องทำการทดลองกับแสงหลายความเข้ม
  4. แสงที่ไม่สว่างนักและอยู่ห่าง ๆ กันก็มีผลต่อการกำหนดทิศทางได้ เช่นเดียวกับแสงสว่างมาก เนื่องจากพบว่า ลูกเต่ามักจะถูกดึงดูดเข้าหาแสงเสมอ

การจัดการลดแสง

ผลของแสงต่อสัตว์จะเป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งที่วิกฤต เช่น เต่าจะเป็นเฉพาะช่วงเกิดใหม่ ช่วงอพยพก็จะเป็นเฉพาะช่วงอพยพ จึงควรมีการจัดการกับแสงในช่วงเวลาดังกล่าวให้เหมาะสม เพื่อลดอันตรายของสัตว์ การลดแสงเป็นวิธีการหนึ่ง แต่อาจจะทำให้แสงไม่พอ สำหรับกิจกรรมของมนุษย์ จึงน่าจะใช้วิธีพรางแสง วิธีนี้ใช้แผ่นทึบแสง ป้องกันการกระจายของแสงจะเป็นวิธีแก้ไขที่ดี การใช้ผ้าคลุมอาจลดความดึงดูดต่อแมลงแต่ใช้ไม่ได้กับเต่า ที่พรางแสงธรรมชาติก็คือ กองทรายที่พายุพัดมาไว้ตามชายหาด มันช่วยบังไม่ให้เต่าเห็นแต่เราอาจช่วยปลูกต้นไม้บังแสง และช่วยให้แสงสีเหลืองจากหลอดโซเดียมแทนที่หลอดไฟแบบธรรมดา การใช้แสงที่ลดสีน้ำเงินลงก็จะดีกว่าแสงขาว นอกจากใช้หลอดไฟที่เหมาะสมแล้วยังต้องช่วยบังแสงด้วย

อีกประการหนึ่ง เราอาจจะปิดไฟตอนดึก เพื่อช่วยเต่าที่เกิดใหม่ โดยติดสวิตช์ตั้งเวลาปิดไฟอัตโนมัติหลัง 4 ทุ่ม การใช้แสงไปติดตั้งไว้ในทะเลอาจจะช่วยให้เต่าลงทะเลได้ แต่การทำเช่นนี้ก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ลูกเต่าที่อยู่ในทะเลคอยกลับมาที่ ๆ มีไฟแทนที่จะออกนอกฝั่ง

บทบาทเชิงอนุรักษ์ของผู้ศึกษาพฤติกรรมสัตว์

แสงมีผลเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้สัตว์สูญเสียชีวิต ความพยายามเรียนรู้สิ่งนี้จะมีความหมายต่อเมื่อได้มีการแก้ปัญหานี้ และควรจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับ photopollution ในแง่อื่น ไม่ว่ามันจะมีผลมากหรือน้อย ทุกแห่งที่เรานำแสงไปใส่นอกอาคาร เราจะต้องคิดว่าแสงนั้นอาจจะไปรบกวนสัตว์ใดบ้าง ในที่เคยมืดถ้าเริ่มนำแสงสว่างเข้าไปใช้ นักชีววิทยาคงจะมีโอกาสค้นพบผลกระทบของแสงต่อสิ่งมีชีวิตในแง่อื่น ๆ อีก ซึ่งเป็นการช่วยให้ความรู้ด้านนี้กว้างขวางขึ้น มีเทคนิคหลายอย่างที่จะช่วยให้แสงมีผลกระทบต่อสัตว์กลางคืนน้อยที่สุด การควบคุม photopollution เป็นเรื่องหนึ่งที่เราจะทำได้สำเร็จ ผลงานอนุรักษ์เหล่านี้ย่อมเกิดได้จากการศึกษาค้นคว้าเพื่อทำความเข้าใจอย่างแท้จริง
เอื้อเฟื้อบทความจาก สสวท.