ผึ้งกับตัวเลขฟีโบนักชี

เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของผึ้ง จึงควรมาศึกษาชีวิตของผึ้งกันก่อน ผึ้งเป็นสัตว์สังคม อาศัยอยู่เป็นรัง และมีการดำรงชีวิตอย่างน่าศึกษา เพราะสังคมของผึ้งเป็นสังคมโดยธรรมชาติ

ภายในอาณาจักรผึ้ง คือ รังผึ้งหนึ่งรัง จะมีผึ้งเพศเมียตัวพิเศษหนึ่งตัว เรียกว่า นางพญา (Queen)

ในรังผึ้งมีประชากรผึ้งเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เป็นผึ้งงาน (worker) ผึ้งงานก็มีเพศเมียเหมือนกับนางพญา แต่เป็นหมัน ไม่สามารถออกไข่หรือขยายพันธุ์ได้

ยังมีผึ้งเพศผู้ที่เรียกว่า โดรน (dron) ซึ่งอาจมีหลายตัว แต่เป็นผึ้งที่ไม่ทำงาน ผึ้งเพศผู้เป็นผึ้งที่มีลักษณะแปลก คือเป็นผึ้งที่นางพญาสร้างขึ้นจากไข่ที่ไม่สมบูรณ์ คือไม่มีการผสมแบบสมบูรณ์ ดังนั้ง ผึ้งโดรนจึงเป็นผึ้งที่มีแต่แม่ไม่มีพ่อ

ดังนั้น ผึ้งเพศเมียทุกตัวจึงเป็นผึ้งที่มีทั้งพ่อและแม่ และผึ้งเพศเมียจะเป็นผึ้งงาน และเป็นหมันไม่ขยายพันธุ์ต่อ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ต้องการขยายพันธุ์แตกรังออก จะมีการสร้างผึ้งที่จะมาเป็นนางพญาเพื่อแยกรัง โดยการป้อนอาหารพิเศษที่เรียกว่า โรยัลเจลลี่ (royal jelly) เมื่อเติบโตพร้อมเป็นนางพญาก็จะแยกรังออกไป

คราวนี้ลองมาดูการลำดับเครือญาติ โดยเริ่มจากโดรนหนึ่งตัว
1. เขามีพ่อ ซึ่งเป็นเพศเมีย
2. เขามีย่า กับยาย และตา (ไม่มีปู่)
3. เมื่อลำดับต่อไป จะเขียนเป็นไดอะแกรม
นางพญามีทั้งพ่อและแม่ ผึ้งเพศผู้มีแต่แม่

ลำดับเครือญาติ

การลำดับเครือญาติของผึ้ง โดยดูแยกเพศ ก็จะได้เป็นอนุกรมฟิโบนักชี เช่นกัน

ที่มา: รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์