ทำไมจึงต้องมีระบบดูแลเครือข่าย
เมื่อเริ่มใช้พีซี
ผู้ใช้ต้องรู้จักดูและรักษาพีซีให้ใช้งานได้ดีตลอดไป การดูแลพีซีเกี่ยวข้องทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ในบางครั้งเราไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับพีซีได้ จึงต้องมีการตามช่างหรือบริษัทผู้ขายมาช่วยบริการให้ใช้งานได้
เช่นกันการนำพีซีมาต่อร่วมเป็นระบบ LAN มีการจัดตั้งเครื่องบริการเซิร์ฟเวอร์
การดูแลและบริหารเครือข่ายแลนก็เริ่มมีความยุ่งยากขึ้น เพราะมีอุปกรณ์ประกอบหลายชิ้น
อุปกรณ์เหล่านี้ต้องทำงานร่วมกันเป็นระบบหากชิ้นหนึ่งชิ้นใดมีปัญหา การทำงานทั้งระบบก็มีปัญหา
การใช้งานในองค์กรมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
มีการเชื่อมต่อแลน หลายๆ เครือข่ายให้เป็นเครือข่ายใหญ่ขึ้น หรือที่เรียกว่า
อินทราเน็ต มีอุปกรณ์พิเศษจำพวกสวิตชิ่งและเราเตอร์ มีการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายบริการต่าง
ๆ ในรูปแบบ WAN เพื่อเชื่อมต่อหรือสื่อสารกับหน่วยงานอื่นที่อยู่ห่างไกลความซ้ำซ้อนของระบบจึงมีมากขึ้น
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการดูแลและบริหารเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพเชื่อถือได้
สามารถใช้งานได้ทนทาน เทคโนโลยีเครือข่ายจึงต้องมีระบบการจัดการเครือข่าย
มีการสร้างโปรโตคอลสำหรับรองรับการทำงานในส่วนเหล่านี้
SNMP
คืออะไร
เครือข่ายอินทราเน็ตที่ใช้โปรโตคอล
TCP/IP มีอุปกรณ์เครือข่ายแบบหลากชนิกและหลายยี่ห้อ แต่มาตรฐานการจัดการเครือข่ายที่ใช้งานได้ผลดีคือ
SNMP
SNMP ย่อมาจาก
Simple Network Management Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่อยู่ระดับบนในชั้นการประยุกต์
และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรโตคอล TCP/IP
ในการบริการและจัดการเครือข่ายต้องใช้อุปกรณ์ต่าง
ๆ มีส่วนของการทำงานร่วมกับระบบจัดการเครือข่าย ซึ่งเราเรียกว่า เอเจนต์ (Agent)
เอเจนต์เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมอยู่ในเครือข่ายโดยมีคอมพิวเตอร์หลักในระบบหนึ่งเครื่องเป็นตัวจัดการและบริหารเครือข่ายหรือเรียกว่า
NMS-Network Management System
ความสำคัญของ
NMS
NMS ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการควบคุม
และเฝ้ามองเครือข่ายมีระบบเตือนเมื่อมีส่วนหนึ่งส่วนใดของเครือข่ายทำงานผิดพลาด
หรือเกิดข้อขัดข้อง ทำให้ผู้ดูแลระบบทราบได้ทันที และเข้าไปทำการแก้ไขได้รวมเร็ว
หน้าที่หลักของ
NMS คือการตรวจสอบเครือข่ายตลอดเวลา ทำรายงานสถิติการใช้เครือข่าย เช่น สถิติของปริมาณข้อมูล
ปริมาณผู้ใช้ สามารถเขียนเป็นกราฟเพื่อให้ผู้ดูแลระบบนำไปวิเคราะห์และวางแผนขยายเครือข่าย
ผู้ดูแลระบบยังสามารถตรวจสอบและแก้ไขระบบจากจุดศูนย์กลาง รวมถึงการติดตั้งซอฟต์แวร์
การตั้งค่าระบบให้กับอุปกรณ์เครือข่ายที่อยู่ห่างไกล
NMS จึงเป็นอุปกรณ์ที่ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่
หรือผู้ให้บริการเครือข่ายแบบสาธารณะที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากจำเป็นต้องมี
เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้การเฝ้ามองระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันแม้แต่เครื่องอินทราเน็ตมีอุปกรณ์ต่าง
ๆ ประกอบรวมกันมีความซับซ้อนมากขึ้น NMS จึงมีส่วนสำคัญในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินทราเน็ต
การที่ระบบบริหารและจัดการเครือข่ายจะประสบผลสำเร็จ
จึงขึ้นกับระบบซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในตัวอุปกรณ์เครือข่าย (เอเจนต์) ส่วนของเอเจนต์ยังมีการเก็บข้อมูลไว้ภายใน
ข้อมูลที่เก็บไว้นี้เรียกว่า MIB - Management Information Base การทำงานของอุปกรณ์ต่าง
ๆ บนเครือข่ายจะมีส่วนข้อมูลของตัวเองเก็บไว้ที่ MIB ดังนั้น NMS จึงส่งคำถามมายังเอเจนต์
การส่งคำถามและเอเจนต์ส่งข้อมูลคำตอบนี้ย่อมเป็นไปตามมาตรฐานโปรโตคอลที่กำหนด
เช่น ลักษณะคำถามคำตอบของ SNMP ที่สอบถามกันเป็นระบบ และเป็นมาตรฐานสากล
ข้อมูลในฐานข้อมูลที่เก็บในเอเจนต์ของแต่ละอุปกรณ์ประกอบด้วย
ข้อมูลชื่ออุปกรณ์ รหัสอุปกรณ์ หมายเลขแอดเดรสบนเครือข่าย ตารางกำหนดเส้นทางปริมาณข้อมูลที่รับส่ง
ข้อผิดพลาดที่ปรากฏ ฯลฯ
ดังนั้นระบบ
NMS จึงได้ข้อมูลของทุกอุปกรณ์ที่มีเอเจนต์อยู่ และนำข้อมูลเหล่านั้นมาแสดงผลในเชิงวิเคราะห์ต่าง
ๆ ไดอะแกรมรูปภาพของเครือข่ายทางฟิสิคัล การนำข้อมูลมาแสดงผลนี้ NMS ส่งคำถามไปเป็นระยะ
และรับคำตอบมาปรับปรุงข้อมูล หากส่งคำถามไปยังตัวอุปกรณ์ที่มีในระบบและไม่ได้รับคำตอบก็จะมีวิธีการตรวจสอบอย่างอื่นประกอบ
เช่น อุปกรณ์นั้นมีปัญหาอย่างไรหรือไม่หากพบปัญหาก็จะแสดงปัญหาเพื่อให้ผู้ดูระบบทราบ
ระบบบริหารและจัดการเครือข่ายจึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลจากเอเจนต์ต่าง
ๆ มาแสดงผล และติดต่อกับผู้ดูแลระบบ ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาระบบ NMS ในรูปแบบต่าง
ๆ กันมาก ผู้ดูแลและบริหารเครือข่ายสามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์ NMS ได้ โดยมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์
หรือผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตให้ดาน์โหลดมาลองใช้ดูก่อน
พัฒนาการของ
NMS ได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บนเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญ
NMS จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและเข้ามามีบทบาทสำคัญในเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เขียนโดย
: รศ.ยืน ภู่วรวรรณ |